![]() |
ที่มา : http://plastraporn.blogspot.com/2016/03/2.html |
เมื่อนานมาแล้วเหล่าเทพและยักษ์ได้สู้รบกันเพื่อแย้งชิงสวรรค์อันเป็นพื้นที่เดิมของพวกยักษ์ ในสมัยนั้นทั้งเทพและยักษ์ต่างมีฤทธิ์พอๆกัน เนื่องจากต่างฝากก็มักจะได้รับพรจากพระศิวะและพระพรหม โดยฝ่ายเทพนำโดยพระอินทร์ ได้พยายามทุกวิธีทางเพื่อจะยึดสวรรค์มาให้ได้ แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ยึดไม่ได้เสียที ด้วยเหตุว่าพระอินทร์ถูกฤาษีตนหนึ่งสาปไว้ ให้หมดฤทธิ์อำนาจ เนื่องจากเอาดอกไม้ที่ฤาษีถวายไปให้ช้างเอราวัณเหยียบ
เมื่อสู้อย่างไรก็สู้ไม่ได้
พระอินทร์ก็จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระศิวะและพระพรหม แต่พระศิวะและพระพรหมไม่ให้ความช่วยเหลือ
เพราะถือว่าพรอันใดได้ให้ใครไปแล้วก็ให้ไปเลย พระอินทร์จึงเหลือที่พึงสุดท้ายคือพระนารายณ์
(พระวิษณุ) ซึ่งพระนารายณ์ก็แนะนำให้ไปทำพิธีกวนเกษียรสมุทรในทะเลน้ำนม
เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มจะได้มีพลังและไม่มีวันตาย
ที่มา : http://www.ch3thailand.com/news/scoop/14034 |
การกวนเกษียรสมุทร ถือเป็นพิธีกรรมยิ่งใหญ่ที่เหล่าเทพและอสูรมาร่วมมือกัน เนื่องจากหวังของวิเศษที่อุบัติจากการกวนครั้งนี้ โดยเฉพาะ “น้ำอมฤต” ซึ่งจะทำให้ผู้ดื่มกลายเป็นอมตะ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยสิ่งมหัศจรรย์อีกหลายอย่าง ได้แก่ พิษหะลาหัล ดวงจันทร์ แก้วเกาสตุภะ ดอกบัวที่ผุดออกมาพร้อมพระแม่ลักษมี วารุณีซึ่งเป็นเทวีแห่งสุรา ช้างเผือกเอราวัณ ม้าอุจฉัยศรพ ต้นปาริชาติ โคสุรภี หริธนู สังข์ เหล่านางอัปสรและธันวันตริผู้เป็นแพทย์สวรรค์ แต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือ พิษหะลาหัล หรือพิษร้ายที่พญาวาสุกรีพ่นออกมา เป็นเหตุให้พระศิวะต้องมาช่วยดูดพิษไว้เพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อโลก พระองค์จึงมีพระศอสีดำ
ตามตำนานฮินดูเชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้เกิดขึ้นในเกษียรสมุทร โดยพระวิษณุยกเขามันทระมาให้เหล่าเทวาและอสูรใช้เป็นไม้กวน และใช้พญาวาสุกรี พญานาคที่เป็นพาหนะของพระองค์ เป็นเชือกกวน รวมถึงโปรยสมุนไพรต่างๆ ลงไปในบริเวณที่กวน จากนั้นจึงตกลงกันให้ฝ่ายอสูรถือข้างหัวนาค และฝ่ายเทวดาถือข้างหางนาค เมื่อช่วยกันกวนไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าเขามันทระเสียดสีพื้นโลก พระนารายณ์จึงเกรงว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ จะทำให้โลกพังได้ จึงอวตารเป็นเต่ายักษ์ ลงไปรองรับเขามันทระไว้
![]() |
ที่มา : https://i.ytimg.com/vi/SSuBGOcz0n8/hqdefault.jpg |
คำว่า เกษียรสมุทร แปลว่าทะเลน้ำนม ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของพระนารายณ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ โดยชื่อทะเลน้ำนมนั้น มาจากลักษณะพื้นน้ำที่เป็นสีเงินยวงราวกับน้ำนม เพราะได้รับรัศมีแห่งอัญมณีสีเงินยวงจากเขาพระสุเมรุมาทาบทับ แต่บ้างก็เชื่อว่า เป็นทะเลน้ำนมจริงๆ ตามที่ตั้งชื่อ
![]() |
ที่มา : http://kroobannok.com/news_pic/p33010220500.jpg |
ตำนานต้นปาริชาต
ปาริชาต เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุ (แม่โคกามเธนุหรือโคสุรภีนั้นเป็นโคสารพัดนึก และเป็นมารดาแห่งโคทั้งหลาย) และเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก
ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาตจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา ซึ่งเป็นชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี ชายาอีกคนจะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาตไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาตร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาตจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์
อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาตก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาตก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาริชาตเป็นดอกไม้แห่งความเศร้า
![]() |
ที่มา : https://hilight.kapook.com/img_cms2/user/rungtip/jubjib/82638-new-993303.jpg |
ในวรรณคดีทางพุทธศาสนา เช่น เตภูมิกถา และ กามนิตวาสิฏฐี กล่าวว่า ต้นปาริชาต คือ ต้นทองหลาง อยู่ในปุณฑริกวันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์มีดอกสีแดงฉาน ร้อยปีจึงจะบานสักครั้ง ทุกครั้งที่บานจะส่งกลิ่นหอมและมีแสงสว่างไปทั่ว เหล่าเทพบุตรเทพธิดาจะมาฉลองร่วมกันใต้ต้นปาริชาต
ผู้ใดที่ต้องการดอกไม้ไปทัดหูเพียงยื่นมือออกไปดอกไม้นั้นก็หล่นลงมาเอง หากรับไม่ทันจะมีลมหมุนวนประคองไว้จนกว่าจะรับได้ กลิ่นของดอกปาริชาตจะทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนและสามารถระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติที่ใกล้ที่สุดจนถึงชาติที่ไกลโพ้นออกไป ในขณะที่ดอกปาริชาตในอินเดีย คือ ดอกกรรณิการ์ ของไทยเรานั่นเอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีของหญิงสาวที่เพิ่งแต่งงานใหม่ และเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระกฤษณะ
ลักษณะของต้นปาริชาต
![]() |
ที่มา : https://variety.thaiza.com/dhamma/264734/ |
มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15-30 เซนติเมตร
ตัวอย่างงานศิลปะ
![]() |
ที่มา : http://www.sookjai.com/index.php?action=printpage;topic=108311.0 |
ในงานจิตรกรรมไทยต้นกัลปพฤกษ์ในสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ปรากฏไม่มาก ตัวอย่างสำคัญคือ บานประตูฉากลายรดน้ำในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทที่วาดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพที่ ๔) โดยฉากลายรดน้ำนี้วาดภาพพิธีอินทราภิเษก ภาพเทพชุมนุมที่สุธัมมาเทวสภา และแท่นบัณฑุกัมพลใต้ต้นปาริชาติในสวนปุณฑริกวัน ซึ่งเป็นการรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระอินทร์โดยเฉพาะ
![]() |
ที่มา : https://www.tnews.co.th/contents/372023 |
ปาริชาต คือต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งสรวงสวรรค์หรือเป็นดอกไม้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพระไตรปิฎก บอกไว้ว่าเมื่อต้นปาริชาติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างพากันดีใจ เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะ ๕ เดือนทิพย์ ณ ใต้ต้นปาริชาต ซึ่งเมื่อบานเต็มที่แล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ ในบริเวณรอบๆ และจะส่งกลิ่นไปได้ ๑๐๐ โยชน์ตามลม โดยมีความเชื่อกันว่า ดอกปาริชาต หากใครได้ดมแล้วก็จะระลึกชาติได้ ได้รู้เห็นอดีตชาติของตนเอง
จึงเป็นเหตุที่เลือกใช้ดอกปาริชาต ในการประดับพระจิตกาธานในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง รัชกาลที่ ๙ โดยดอกปาริชาตที่ใช้เป็นดอกไม้ไหวปักด้านบนของรอบชั้นรัดเกล้า มีจำนวน ๗๐ ดอก เปรียบดั่ง ๗๐ ปีการครองราชย์ โดยประดิษฐ์จากกลีบดอกกล้วยไม้เย็บแบบและกลีบดอกบานไม่รู้โรย ประดับด้วยปีกแมลงทับและเมล็ดธัญพืชพันธุ์ที่ได้พระราชทานให้แก่เกษตรกร ส่วนเกสรชั้นในสุดทำจากนพรัตน์ ๙ ดวง จากจังหวัดจันทบุรี ตรงกลางประดับด้วยเพชรแท้ ล้อมรอบด้วยอัญมณี ๘ สี ส่วนการยึดดอกปาริชาตบนหยวกรอบจิตกาธานนั้น ทำด้วยแกนที่เหลาจากไผ่สีสุกอย่างโบราณ ตัดสั้นยาวแล้วแต่ฝีมือช่างดอกไม้ในระหว่างการติดตั้ง
![]() |
ที่มา : https://www.matichon.co.th/education/news_704501/attachment/ดอกปาริชาติ-2 |
🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽
เอกสารอ้างอิง
เปิดตำนานการกวนเกษียรสมุทร. (ม.ป.ป). เปิดตำนานการกวนเกษียรสมุทร. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก : http://www.ch3thailand.com/news/scoop/14034
ตำนานการกวนเกษียรสมุทร. (ม.ป.ป). ตำนานการกวนเกษียรสมุทร. สืบค้นเมื่อ
14 พฤศจิกายน 2561. จาก : https://www.unzeen.com/article/1976/
ดอกปาริชาตดอกไม้แห่งสวรรค์. (ม.ป.ป). ดอกปาริชาตดอกไม้แห่งสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก : https://hilight.kapook.com/view/82662
ตำนานและความเชื่อเรื่องดอกปาริชาต. (ม.ป.ป). ตำนานและความเชื่อเรื่องดอกปาริชาต. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก : https://horoscope.mthai.com/horoscope-highlight/20739.html
ดอกปาริชาตประดับพระจิตกาธาน. (2560). ดอกปาริชาตประดับพระจิตกาธาน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก : https://www.tnews.co.th/contents/372023
No comments:
Post a Comment